วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้ ( Learning )




การเรียนรู้ ( Learning )

ความหมายของการเรียนรู้
ความหมายของคำว่า การเรียนรู้มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้หลายท่านในที่นี้จะสรุปพอเป็นแนวทางให้เข้าใจดังนี้คือ
การ เรียนรู้ หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา โดยเริ่มต้นตั้งแต่ การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่ รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน ครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะ การเรียนรู้ทั้งสิ้น
การ เรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกต พิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอม รับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ เป็นความเจริญงอกงาม เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อ พฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้ แล้ว
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถาณการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์
การ เรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดกิจกรรม หรือ กระบวนการที่ทำให้กิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นผลตอบสนองจากสภาพการณ์หนึ่ง ซึ่งไม่มช่ปฏิกิริยาธรรมชาติไม่ใช่วุฒิภาวะและไม่ใช่สภาพการเปลี่ยนแปลงของ ร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวที่เนื่องมาจากความเหนื่อยล้าหรือฤทธิ์ยา
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลของการฝึกหัด
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
ธรรมชาติของการเรียนรู้
ธรรมชาติของการเรียนรู้โดยทั่วไปนักจิตวิทยาเชื่อว่ามนุษย์จะมีการเรียนรู้ได้ก็ ต่อเมื่อมนุษย์
ได้ทำกิจกรรมใดๆ แล้วเกิดประสบการณ์ ประสบการณ์ที่สะสมมามากๆ และหลายๆ ครั้งทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้นและเกิดการพัฒนาสิ่งที่เรียนรู้จนเกิด เป็นทักษะ และเกิดเป็นความชำนาญ ดังนั้นการเรียนรู้ของมนุษย์ก็จะอยู่กับตัวของมนุษย์เรียกว่าการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ดังนั้นหัวข้อที่น่าศึกษาต่อไปคือธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์มีอะไร บ้าง ในที่นี้ขออธิบายเป็นข้อๆ คือ
1. การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
2. การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ จะต้องเนื่องมาจากประสบการณ์
3. การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้
4. การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม
5. การ เรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระบวนการ เรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่บุคคลมีชีวิตอยู่ โดยอาศัยประสบการณ์ในชีวิต
6. การ เรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโต สูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่การเรียน รู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่ต้องอาศัยวุฒิภาวะประกอบกัน
7. การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
8. การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน
9. การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่
10. การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้

การศึกษา

การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ ก็คือการเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเอง การเรียนรู้ทำได้หลายวิธี มีได้หลายรูปแบบ การเรียนรู้คือการสร้างสรรค์ที่จรรโลงความก้าวหน้า คือครีเอทีฟ เพื่อความก้าวหน้า และการเรียนรู้คือการสร้างองค์ความรู้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ใหม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นต้องการการเรียนรู้ที่เน้นและให้ความสำคัญ กับการสร้างสรรค์มาก หมายความว่า การเรียนรู้นั้น เราสามารถสร้างองค์ความรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักรในครั้งนี้ ถ้าเรามองว่าการศึกษาคือการสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ จากรายงานจะพบว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และเศรษฐกิจของโลกขึ้นอยู่กับผลงานสร้างสรรค์ หลายหมื่นล้านปอนด์ นั่นหมายความว่าราคาของความสร้างสรรค์มีมูลค่าสูงมาก ถ้านับรวมทั้งโลกจะสูงถึงล้าน ล้าน ล้านทีเดียว เพราะฉะนั้นโลกปัจจุบันจึงเป็นโลกของการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ ที่เรามาพูดกันในวันนี้ เมื่อได้ความหมายของการศึกษา ว่าหมายถึงการศึกษาเชิงสร้างสรรค์แล้ว ในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บอกจุดประสงค์ของการเรียนรู้ไว้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการเรียนรู้นั้นเน้นการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา จนถึงภูมิปัญญา และวิทยาศาสตร์ วันนี้เรามีโอกาสได้ฟังผู้เชี่ยวชาญมานำเสนอให้เราเห็นว่า การศึกษาในเชิงสร้างสรรค์ จะนำไปใช้ในสาขาต่างๆ ได้อย่างไร ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ จะสร้างสรรค์ได้อย่างไร สร้างความรู้ได้อย่างไร สาขาศิลปะ ที่ต้องมีความคิดเชิงสร้างสรรคเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี หรือการเขียน ที่ต้องมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการเรียงร้อยสิ่งต่างๆ ในการนำเสนอ เห็นได้ชัดว่า มาตรา 4 และมาตรา 7 จะช่วยให้การศึกษาไม่แห้งแล้ง แต่จะเป้นการเรียนรู้ที่มีความสุข และสนุกสนาน และท้ายที่สุดสิ่งที่เราสร้างสรรค์อย่างมีความสุขนั้น จะกลายมาเป็นทรัพย์สมบัติ สิทธิสมบัติของเราอย่างชัดเจน ดังนั้น การเรียนอย่างสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน ในประเทศไทยอาจไม่ค่อยมี แต่ในต่างประเทศ เราพบเสมอๆ ว่าเด็กมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน และทำงานตั้งแต่อายุน้อยๆ หากเราสามารถพัฒนาการเรียนแบบสร้างสรรค์ได้ การเรียนกับการทำงานจะเป็นการบูรณาการในเรื่องเดียวกัน การศึกษาระบบใหม่เป็นระบบที่เหมาะ และยืดหยุ่นให้กับการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก เพราะการศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเท่านั้น นอกจากนี้ มาตรา 12 ยังเปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาจัดการศึกษานั้นมีมากมาย หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว หรือสถาบันศาสนา และสิ่งสำคัญคือการศึกษาใหม่ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นมีถึง 3 ระบบคือ การศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) และกฎหมายได้กำหนดให้ระบบการศึกษาทั้ง 3 ระบบสามารเทียบโอนการศึกษากันได้ นี่คือความยืดหยุ่น เป็นการลดความแข็งของระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความคิดริเริ่ม" และ "สร้างสรรค์" นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังมีสิ่งที่โดดเด่นมากคือในมาตรา 22 ที่เปลี่ยนความเชื่อและหลักการเกี่ยวกับผู้เรียนค่อนข้างมาก โดยเชื่อว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ ซึ่งหมายความว่าเราเชื่อในพลังแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน เชื่อในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของแต่ละคน ซึ่งนับว่าเป็นความเชื่อที่ยิ่งใหญ่มาก ประการต่อมาเราเชื่อว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพของตัวเอง ได้ การศึกษาเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน ถ้าเรามองว่าการศึกษาเชิงสร้างสรรค์เป็นรูปแบบและวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ในมาตรา 4 และมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เราสามารถบูรณาการเข้ากับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างไร วันนี้จะมีตัวอย่างการบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์ และศิลปะ มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเนื้อหาวิชาไว้อย่างสมบูรณ์ และชัดเจน และในมาตรา 24(5) กำหนดวิธีการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาพลังแห่งการสร้างสรรค์ให้เป็นระบบ เพราะการวิจัยเป็นการทำงานโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ นอกจากนี้ในมาตรา 25 กล่าวถึง แหล่งเรียนรู้ ว่ามิได้จำกัดตายตัวอยู่แต่เพียงในห้องเรียน สถานที่ต่างๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ ก็ถือเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญเช่นกัน แต่เดิมเราเคยมีปัญหาเกี่ยวกับข้อกำหนดของหลักสูตร แต่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้หลักสูตรมี 2 ระบบ คือ หลักสูตรกลาง หรือหลักสูตรชาติ และหลักสูตรของโรงเรียนที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของผู้ เรียน และชุมชน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ ทำอย่างไรจึงมีการเรียนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างพลังศักยภาพของสังคมของคนไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของชาติ จึงสนใจและทำการศึกษาเรื่อง "การศึกษาเชิงสร้างสรรค์" นี้ เพื่อให้นโยบายด้านการศึกษาของชาติ สามารถพัฒนาเป็นแผนโดยการบูรณาการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์นี้ให้เข้ากับราย วิชาต่างๆ ได้อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์





สารสนเทศ

ความหมายและบทบาทของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ (นำเข้า), จัดการ (ประมวลผล) และเผยแพร่(แสดงผล) ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ

1. ส่วนที่นำเข้า (Inputs) ได้แก่การรวบรวมและการจัดเตรียมข้อมูลดิบ ส่วนที่นำเข้านี้สามารถมีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการโทรเข้าเพื่อขอข้อมูลในระบบสอบถามเบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลที่ลูกค้ากรอกในใบ สอบถามการให้บริการของร้านค้าฯลฯ ขึ้นอยู่กับส่วนแสดงผลที่ต้องการ ส่วนที่นำเข้านี้อาจเป็นขบวนการที่ทำด้วยตัวเองหรือเป็นแบบอัตโนมัติก็ได้ เช่นการอ่านข้อมูลรายชื่อสินค้าและรายราคาโดยเครื่องอ่าน บาร์โค้ดของห้างสรรพสินค้า จัดเป็นส่วนที่นำเข้าแบบอัตโนมัติ
2. การประมวลผล (Processing) เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนและการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของส่วนแสดงผลที่มีประโยชน์ ตัวอย่างของการประมวลผลได้แก่การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเลือกทางเลือกในการปฏิบัติงานและการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต โดยการประมวลผลสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น ระบบคิดเงินเดือนพนักงาน สามารถคิดได้จากการนำจำนวน ชั่วโมงการทำงานของพนักงานคูณเข้ากับอัตราค่าจ้างเพื่อให้ได้ยอดเงินรวมที่ต้องจ่ายรวม ถ้าชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์มากกว่า 40 ชั่วโมงอาจมีการคิดเงินล่วงเวลาให้ โดยเพิ่มเข้าไปกับเงินรวม จากนั้นอาจจะทำการหักภาษีพนักงาน โดยการนำเงินรวมมาคิดภาษีและนำเงินรวมมาลบด้วยภาษีที่คำนวณได้ จะทำให้ได้เงินสุทธิที่ต้องจ่ายให้กับพนักงาน
3. ส่วนที่แสดงผล (Outputs) เกี่ยวข้องกับการผลิตสารสนเทศที่มีประโยชน์ มักจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือรายงานหรืออาจะเป็นเช็คที่จ่ายให้กับพนักงาน รายงานที่นำเสนอผู้บริหารและสารสนเทศที่ถูกผลิตออกมาให้กับผู้ถือหุ้น ธนาคาร หรือกลุ่มอื่นๆ โดยส่วนแสดงผลของระบบหนึ่งอาจใช้เป็นส่วนที่นำเข้าเพื่อควบคุมระบบหรืออุปกรณ์อื่นๆ ก็ได้ เช่นในขบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ พนักงานขาย ลูกค้า และ นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์อาจจะทำการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบนี้ด้วย จนกระทั่งได้ต้นแบบที่ตรงความต้องการมากที่สุด จึงส่งแบบนั้นไปทำการผลิต จะเห็นว่าแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ได้จากการออกแบบแต่ละครั้งจะเป็นส่วนที่ถูกนำไปปรับปรุงการออกแบบในครั้งต่อๆ ไป จนกระทั่งได้แบบ สุดท้ายออกมา อาจอยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ที่ออกมาจากเครื่องพิมพ์หรือแสดงอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์แสดงผลตัวหนึ่งหรืออาจจะอยู่ในรูปของรายงานและเอกสารที่เขียนด้วยมือก็ได้
4. ผลสะท้อนกลับ (Feedback) คือส่วนแสดงผลที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อส่วนที่นำเข้าหรือส่วนประมวลผล เช่น ความผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลนำเข้าหรือทำการเปลี่ยนแปลงการประมวลผลเพื่อให้ได้ส่วนแสดงผลที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ระบบการจ่ายเงินเดือนพนักงาน ถ้าทำการป้อนชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์เป็น 400 แทนที่จะเป็น 40 ชั่วโมง ถ้าทำการกำหนดให้ระบบตรวจสอบค่าชั่วโมงการทำงานให้อยู่ในช่วง 0-100 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อพบข้อมูลนี้เป็น 400 ชั่วโมง ระบบจะทำการส่งผลสะท้อนกลับออกมา อาจจะอยู่ในรูปของรายงานความผิดพลาด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบและแก้ไขจำนวนชั่วโมงการทำงานที่นำเข้ามาคำนวณให้ถูกต้องได้

เทคโนโลยี


ความหมายของเทคโนโลยี

ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า เทคโนโลยี” (boonpan edt01.htm)

เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)

สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)

ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)

Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)

นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ

1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา

ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ โสตทัศนศึกษานั่นเอง

นวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรม

นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

คำว่า นวัตกรรมเป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรมต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)

SWOT โรงเรียนธรรมราชศึกษา

SWOT โรงเรียนธรรมราชศึกษา

วิสัยทัศน์

นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้มีความคิดสร้างสรรค์ก้าวทันสังคมโลกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมสืบสานวัฒนธรรมและร่วมนำพัฒนาชุมชน ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เป็นสถานที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา พัฒนาระบบการบริหาร ครูมีทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีจรรยาบรรณและยึดมั่นในวิชาชีพอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

เพื่อให้โรงเรียนธรรมราชศึกษา มีมาตรฐานในการบริหารงาน สามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ เป็นบุคคลที่มีคุณค่า รับผิดชอบต่อสังคม จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาดังนี้

1. มุ่งให้ผู้เรียนมีบุคลิกเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม สังคมยกย่องและให้การยอมรับ มีทักษะในการเรียนรู้ด้านวิชาการ สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน มีความสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมสืบสานวัฒนธรรม รู้จักดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า มีสุขภาพที่ดี ปลอดจากอบายมุขและสิ่งเสพติด

2. มุ่งพัฒนาระบบและบุคลากรฝ่ายบริหารให้เป็นระดับมืออาชีพ ให้บริการความรู้ การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียน

3. มุ่งให้ครูได้รับการพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่อง มีความมั่นคงในอาชีพ และ

สามารถดำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และเป็นบุคคลตัวอย่างด้านคุณธรรมได้

พันธกิจ

เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดภาระหน้าที่ของโรงเรียนธรรมราชศึกษา ดังนี้

พันธกิจที่ 1 พัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมให้มีคุณธรรมและความรู้ด้าน

วิชาการ

พันธกิจที่ 2 พัฒนาการบริหารจัดการด้านบุคลากรและสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ

และต่อเนื่อง

สารและขอบข่ายของพันธกิจ

พันธกิจที่ 1 พัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ให้มีคุณธรรมและความรู้ด้าน

วิชาการ

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญต่อผู้เรียนอย่างมาก ได้กำหนดไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

การพัฒนาและสนับสนุนนักเรียนโรงเรียนธรรมราชศึกษา มีปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงานหลายประการ กล่าว คือ โรงเรียนตั้งอยู่ในวัดที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้บริหารระดับสูง และครูเป็นพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนา มีความรู้ความสามารถในการแนะนำอบรมคุณธรรม นำนักเรียนลงสู่ภาคปฏิบัติในสถานการณ์จริง ประกอบกับนักเรียนส่วนส่วนมาเป็นนักเรียนบรรพชิตสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคมให้กับนักเรียนฝ่ายคฤหัสถ์ รัฐให้การอุดหนุนรายหัวแก่โรงเรียน โดยนักเรียนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าอื่น ๆ เป็นการเรียนฟรี โรงเรียนเปิดโอกาสให้มีหลักสูตรหลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจ มีเทคโนโลยีทันสมัย มีความพร้อม ความสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ ด้วยความใส่ใจในหน้าที่ เมื่อมีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนในโรงเรียนธรรมราชศึกษาทั้งระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ดี การดำเนินงานพัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนในปัจจุบันมีข้อจำกัดบางประการ ทั้งในด้านกระบวนการบริหาร บุคลากร งบประมาณและการกำกับติดตาม กล่าวคือ สภาพสังคมปัจจุบันที่มีการส่งเสริมบริโภคด้านวัตถุนิยม เป็นสังคมที่ฟุ้งเฟ้อ ทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญในด้านวัตถุมากกว่า ไม่เห็นความสำคัญด้านคุณธรรมจริยธรรม สังคมสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงเรียนมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้เรียนมากว่าสังคมในโรงเรียน อีก ประการหนึ่ง ขาดการติดตามและรายงาน ครูขาดทักษะวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมนักเรียนยังไม่ทั่วถึง งบประมาณสนับสนุนมีจำกัด

ในการส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถพัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมให้มีคุณธรรมและความรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้สามารถดำเนินงานตามพันธกิจได้ จึงได้วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาโอกาส อุปสรรค และจุดอ่อน จุดแข็งของโรงเรียนตามพันธกิจ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับพัฒนาและดำเนินงาน ดังนี้

แผนภูมิที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์บนพันธกิจที่ 1 พัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมให้มีคุณธรรมและความรู้ด้านวิชาการ

SWOT

ภายใน(จุดอ่อน)

1. ต้องพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพด้านบริหารและด้านกิจการนักเรียน

2. วิธีการสอนต้องมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มากยิ่งขึ้น

3. ต้องให้บริการสื่อ อุปกรณ์และเทคโนโลยี อย่างทั่วถึง

4. บุคลากรทุกคนต้องใช้สื่ออุปกรณ์และเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิ ผลอย่างแท้จริง

5. จะต้องจัดกิจกรรมนักเรียนให้ได้อย่างทั่วถึง

6. ต้องเพิ่มห้องปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างเพียงพอ

ภายนอก (อุปสรรค)

1. หน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามนโยบายอย่างแท้จริงเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อย

2. ผู้เรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ยากจนและมีปัญหาด้านพฤติกรรม

3. ผู้ปกครองมีรายได้ลดลง ต้องทำงาน มีเวลาดูแลผู้เรียนน้อย

4. งบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ

ภายใน(จุดแข็ง )

1. สามารถให้บริการหลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียน

2. โรงเรียนตั้งอยู่ในวัด ผู้บริหารและครูส่วนหนึ่งเป็นบรรพชิต ให้การแนะนำอบรมด้านคุณธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. มีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ( โบราณสถานและนักท่องเที่ยว )

4. สามารถรับภาระและพัฒนาผู้เรียนกลุ่มศักยภาพจำกัดสู่มาตรฐาน(ปั้นดินเป็นดาว)

5. ผู้บริหารและครูใส่ใจและติดตามผู้เรียนอย่างจริงจัง

6. ผู้บริหารและครู ร้อยละ 40 เป็นศิษย์เก่า มีความรักและผูกพันกับสถาบัน

ภายนอก(โอกาส )

1. นักเรียนได้รับการอุดหนุนรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. รัฐบาลให้งบสนับสนุนด้านอาคารเรียนและสื่ออุปกรณ์

3. มีทุนการศึกษาและทุนอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลน

4. มีเทคโนโลยีและสื่อการสอนมากขึ้น

5. มีมูลนิธิโรงเรียนและบุคคลภายนอกสนับสนุนทุนการศึกษา

6. มีเทคโนโลยีพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะให้ความรู้แก่ผู้เรียน

7. กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาได้รวมตัวกันพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการวิเคราะห์สถานการณ์บนพันธกิจที่ 1 พัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนทั้งโดยตรง และโดยอ้อมให้มีคุณธรรมและความรู้ด้านวิชาการ ทำให้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและดำเนินงานตามพันธกิจได้ ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์พัฒนาบริการการศึกษา : เร่งส่งเสริมและปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีการเน้นทักษะการใช้ภาษาที่สองคือ ภาษา อังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน เพื่อให้ผู้เรียนใช้ประกอบอาชีพและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งวิชาในกลุ่มสาระโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสื่อการสอนในการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียนที่มีศักยภาพจำกัดสู่มาตรฐานของประเทศและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. ยุทธศาสตร์ระดมทรัพยากร : เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านทุนการศึกษา เพื่อเอื้อต่อการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีการระดมทุนการศึกษาจากประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธา ศิษย์เก่าและประชาชนทั่วไป รวมทั้งนำเทคโนโลยีพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ทั้งนี้โรงเรียนต้องแสดงบทบาทและร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น

พันธกิจที่ 2 พัฒนาการบริหารจัดการด้านบุคลากรและสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

การพัฒนาการบริหารจัดการด้านบุคลากรและสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องนั้น มีปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีคุณภาพหลายประการ กล่าวคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ทุกระดับทุกประเภท โดยรัฐให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุนรายหัวและสื่ออุปกรณ์ตลอดจนถึงอาคารเรียน มีระบบประกันคุณภาพ มีองค์กรวิชาชีพครู การบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนจะมีอิสระและความคล่องตัว นอกจากนั้นครูเอาใจใส่และรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนและให้ความร่วมมือด้านบริหาร สถานศึกษาสามารถปรับเปลี่ยนและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารได้รวดเร็วแต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเพื่อพัฒนาการบิหารจัดการด้านบุคลากรและสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องของโรงเรียนธรรมราชศึกษานั้น มีข้อจำกัดในการดำเนินการหลายประการ กล่าวคือ ผู้บริหารของโรงเรียนยังไม่เป็นผู้บริหารมืออาชีพ มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารทำให้การบริหารไม่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ครูบางส่วนยังมีความต้องการความมั่นคงในวิชาชีพสอบรับราชการ จึงมีการเปลี่ยนครูบ่อย ทำให้การพัฒนาครูไม่ต่อเนื่องและในการจัดการเรียนการสอนยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขาดงบประมาณในด้านพัฒนาบุคลากรและสื่ออุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการมีจำนวนไม่เพียงพอ ขาดข้อมูลสารสนเทศที่ช่วยในการบริหารและตัดสินใจ นอกจากนั้น ในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนธรรมราชศึกษามีค่าใช้จ่ายสูงในเรื่องค่าบริการสาธารณสุขและบริการเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ต้นทุนในการจัดการศึกษาสูง

ในการเสริมสร้างศักยภาพของโรงเรียนธรรมราชศึกษาให้สามารถดำเนินงานตามพันธกิจได้ จึงได้วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาโอกาส อุปสรรค และจุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร ตามพันธกิจเพื่อดำหนดยุทธศาสตร์สำหรับพัฒนาและดำเนินงาน ดังนี้

แผนภูมิที่ 2 การวิเคราะห์สถานการณ์บนพันธกิจที่ 2 พัฒนาการบริหารจัดการด้านบุคลากรและสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

SWOT

ภายใน (จุดอ่อน )

1. ยังขาดการวางแผนและติดตามพัฒนาอย่างเป็นระบบ

2. ต้องพัฒนาผู้บริหารให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

3. ครูบางส่วนยังไม่พอใจในความมั่นคงวิชาชีพ ทำให้มีการเปลี่ยนครูบ่อย

4. ครูขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

5. การเรียนการสอนเน้นต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากยิ่งขึ้น

6. งบประมาณของโรงเรียนยังไม่เพียงพอ

7. บริเวณโรงเรียนมีเนื้อที่ไม่ชัดเจน ขาดพื้นที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติตามสภาพจริง

8. ห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน

9. ขาดสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยเป็นจำนวนมาก

ภายนอก (อุปสรรค )

1. การอุดหนุนค่าใช้จ่ายของผู้เรียนรายบุคคลไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง

2. ผู้ปกครองมีรายได้น้อย นักเรียนมีฐานะยากจน และบางส่วนมีปัญหาทางพฤติกรรม

3. โรงเรียนไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้

4. นักเรียนบางส่วนมาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัด เช่าที่พักไม่มีผู้ปกครองดูแล

5. ต้นทุนค่าบริการสาธารณสุข สาธารณูปโภคและค่าบริการ ICT สูง

6. ขาดผู้ประสานงานด้านระดมทุนการศึกษา

ภายนอก (โอกาส )

1. รัฐให้การอุดหนุนเงินรายหัวนักเรียนและสื่อ-อาคารเรียน

2. ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากทางวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

3. ศรัทธาประชาชน ศิษย์เก่าให้การสนับสนุนด้านทุนการศึกษาและอื่น ๆ

4. มีระบบประกันคุณภาพ

5. มีองค์กรที่แรกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านบริหารและวิชาการ คือ สมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

ภายใน(จุดแข็ง )

1. โรงเรียนตั้งอยู่ในวัดสำคัญทั้งโบราณสถานและประวัติศาสตร์

2. นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยว

3. นักเรียนมีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธศาสนาทั้งการปฏิบัติและสถานที่

4. ครูเอาใจใส่ รับผิดชอบและให้ความร่วมมือด้านบริหาร

จากการวิเคราะห์สถานการณ์บนพันธกิจที่ 2 พัฒนาการบริหารจัดการด้านบุคลากรและสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทำให้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและดำเนินงานตามพันธกิจได้ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพบุคลากร : เร่งพัฒนาผู้บริหารให้สู่ระดับมืออาชีพ บริหารด้วยหลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า และพัฒนาครูสู่มาตรฐานวิชาชีพ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและเป็นบุคคลมีคุณธรรม เป็นตัวอย่างแก่ผู้เรียนได้ รวมทั้งเสริมขวัญและกำลังใจ

2. ยุทธศาสตร์เสริมสร้างการมีส่วนร่วม : เร่งจัดตั้งชมรมครูผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนธรรมราชศึกษา เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น และศิษย์เก่ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนมุ่งพัฒนาเป็นศูนย์กลางบริการชุมชนและเป็นผู้นำชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ปรากฏ

3. ยุทธศาสตร์พัฒนาจุดเด่นของโรงเรียน : เร่งพัฒนาโรงเรียนธรรมราชศึกษาเป็นสถาน ศึกษาเข้าสู่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและได้รับการประกันคุณภาพภายนอก เป็นสถานศึกษาส่งเสริมวิถีพุทธดีเด่น เป็นสถานศึกษาส่งเสริมด้านสุขภาพดีเด่น เป็นสถานศึกษาส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นดีเด่น และเป็นสถานศึกษาส่งเสริมการเรียนภาษาที่สองดีเด่น

เพื่อให้โรงเรียนมีแนวทางการจัดการศึกษาตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงได้กำหนดแผนงานไว้ แผนงานเพื่อการพัฒนาสำหรับเป็นกรอบในการดำเนินงานจัดการทำรายละเอียดของแผนงาน/โครงการ ดังนี้

พันธกิจที่ 1 พัฒนาและสนับสนุนผู้เรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ให้มีคุณธรรมและความรู้ด้านวิชาการ

ยุทธศาสตร์พัฒนาบริการการศึกษา :

1. แผนงานส่งเสริมการบริการทางการศึกษา

2. แผนเสริมสร้างประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียนที่มีศักยภาพจำกัดสู่มาตรฐาน

ยุทธศาสตร์ระดมทรัพยากร :

1. แผนงานระดมทุนสนับสนุนการศึกษา

2. แผนงานประสานความร่วมมือนำเทคโนโลยีพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น

มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา

พันธกิจที่ 2 พัฒนาการบริหารจัดการด้านบุคลากรและสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างเป็น

ระบบและต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพบุคลากร :

1. แผนงานพัฒนาระบบบริหารงานและจัดการสถานศึกษา

ยุทธศาสตร์เสริมสร้างการมีส่วนร่วม

1. แผนเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ศิษย์เก่าและชุมชน

ยุทธศาสตร์พัฒนาจุดเด่นของโรงเรียน

1. แผนพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประกันคุณภาพ

ภายนอก

2. แผนพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธดีเด่น

3. แผนพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่น

4. แผนพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นดีเด่น

5. แผนพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมการเรียนภาษาที่สองดีเด่น